ภาษาไทย | English
เข้าสู่ระบบ!! บทความ



สถิติของเวบไซต์
เปิดเวบเมื่อ 18/07/2554
ปรับปรุงเวบเมื่อ 25/03/2567
ผู้ชมทั้งหมด
สินค้าทั้งหมด 4408


หมวดหมู่สินค้า/บริการ
ดัชนีราคา
รวมทุกหมวดหมู่ (4408)
 รายการเปิดจอง / Pre-order, Reserve
 วัตถุมงคลขนาดบูชา / sacred object large size
 Special Amulet
 พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่๕
 หินมงคล / Lucky Stone
 พระเนื้อผง / Buddha amulet clay
 พระกริ่ง รูปหล่อลอยองค์ Phra Kring/ Buddha amulet
 กริช พระขรรค์ มีดหมอ / Dagger Magical Knife
 กุมารทอง รัก-ยม ลูกกรอก / Kumanthong Rak-yom
 กำไล ตะกรุดข้อมือ / Bracelet amulet
 ขุนแผน ขุนช้าง / Khunpaen, Khun-Chang
 ควายธนู-วัวธนู / Buffalo-Ox, Cow for protection
 พ่องั่ง แม่งั่ง / Ngang, Pho-Ngang, Mae-Ngang
 จระเข้ จิ้งจก ตุ๊กแก / Crocodile Lizard Gecko
 ดาว, ราหู / Miracle star, Rahu
 เดือยงูเหลือม / Snake Jenital
 ตะกรุด / Trakud
 ท้าวเวสสุวัณ / Thao Vet Suwan
 นกคุ้ม / Nok koum ( Bird )
 นางโกย นางกวัก / Nang koey Nang kwag
 น้ำมันเสน่ห์ สีผึ้ง ผงเสน่ห/ Wax, Charm powder
 เบี้ยแก้ หมากทุย / Beakae, Shell protection
 ปลัดขิก / Paladkhik
 ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ / Yantcloth, Yant sheet
 พญาครุฑ พญาเต่า / Garuda, Turtle
 แพะ ม้าเสพนาง / Goat Horse and Girl
 ชะมด /Chamod amulet
 หุ่นพยนต์ / Hunphayon, Protection amulet
 แหวน / Ring
 อิ่น อิ้นคู่ / Inn, Hug amulet
 โชคลาภเงินทอง เสี่ยงโชค
 หลวงปู่ทวด Luang Por Tuad
 พระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
 พระสมเด็จ
 วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
 อาจารย์คำสวย ไทรป้อง (พญาสีหราช แห่งด่านเจริญชัย)
 อาจารย์นิว อกุนิวงศ์ ตำหนักปู่ฤๅษีพรหมมา จ.นนทบุรี
 ครูบาฐากูร วัดแม่แพะ จ.เชียงใหม่
 อาจารย์ป๊อป บ้านมนต์มงคล
 อาจารย์เจียม ฤทธิ์คง มนต์เสน่ห์เมืองมอญ
 อาจารย์ปี่
 อาจารย์องอาจ สีงาม
 อาจารย์โอ ศักดา สำนักบ้านต้องมนต์
 พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา พุทธสถานวิหารพระธรรมราช
 หลวงปู่ครูบาคำเป็ง อาศรมสุขาวดีวราราม จ.กำแพงเพชร
 หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง จ.สุรินทร์
 ครูบาแบ่ง ฐานุตฺตโม วัดบ้านโตนด จ.นครราชสีมา
 อาจารย์อินทร์แก้ว สำนักดงพญาธรรม
 หลวงปู่หงษ์ สุสานทุ่งมน วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์
 หลวงพ่อเอิบ วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) จ.ชัยนาท
 หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
 ครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย
 หลวงปู่ชื่น วัดตาอี จ.บุรีรัมย์
 หลวงปู่อั๊บ เขมจาโร วัดท้องไทร จ.นครปฐม
 หลวงปู่สุภา วัดสีลสุภาราม จ.ภูเก็ต
 หลวงปู่ครูบาธรรมมุนี จ.มหาสารคาม
 หลวงพ่อบุญมี วัดม่วงคัน จ.อ่างทอง
 หลวงปู่จัน ขันติโก ผู้วิเศษ กำปงธม กัมพูชา
 ครูบากฤษณะ อินทวัณโณ
 พระศีลมงคล (หลวงพ่อทอง) วัดสำเภาเชย จ.ปัตตานี
 พ่อท่านพรหม ธมมฺธิโร วัดพลา่นุภาพ จ.ปัตตานี
 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
 หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี
 พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี
 หลวงตาช้วน วัดขวางจ.สุพรรณบุรี
 หลวงพ่อวิเชียร วัดถ้ำมุนีนาถ.กาญจนบุรี
 หลวงปู่นอง วัดวังสีทอง จ.สระแก้ว
 หลวงพ่อแช่ม กิตติสาโร วัดสำนักตะกร้อ จ.นครราชสีมา
 หลวงปู่วาส วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
 พระอาจารย์ชอ สุชีโว วัดหนองแสง จ.ฉะเชิงเทรา
 หลวงปู่หยุด วัดปรางค์หลวง จ.นนทบุรี
 หลวงพ่อเกิด ปัญฑิโต วัดเขาดิน จ.ชัยนาท
 หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ จ.ลพบุรี
 ครูบาทัศน์ วัดบ้านนาหนุน จ.พะเยา
 หลวงปู่นาค วัดป่าไทรย้อย จ.ปราจีนบุรี
 ครูบาเดช กิตติญาโณ จ.ลำปาง
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านแจ้ง จ.ร้อยเอ็ด
หลวงพ่อปุ่น วัดป่าบ้านสังข์ ร้อยเอ็ด
 หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
 พ่อท่านคล้อย อโนโม วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง
หลวงเตี่ยเจ็ก ถาวโร วัดโคกมะตูม จ.สระแก้ว
 หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี
หลวงปู่บุญ สมจิตโต สำนักสงฆ์วังสุเทพ จ.สระแก้ว
 พ่อท่านตุด ที่พักสงฆ์หารคอกช้าง จ.สงขลา
 หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม วัดสิงหาญ จังหวัดอุบลราชธานี
 หลวงพ่อจืด สวนปฏิบัติธรรมโพธิเศรษฐี จ.นครปฐม
 หลวงพ่อสมยศ วัดไทรทองพัฒนา จ.กาญจนบุรี
 หลวงปู่นะ วัดหนองบัว จ.ชัยนาท
 หลวงปู่น้อย วัดป่าดอนประดู่ จ.สกลนคร
 หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว จ.นครปฐม
 หลวงปู่หุน วัดบางผึ้ง จ.ฉะเชิงเทรา
 หลวงพ่อวัลลภ วัดดอยแท่นพระผาหลวง จ.เชียงใหม่
 หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร
 หลวงปู่ชื่น วัดพรสวรรค์ จ.สระแก้ว
 พ่อท่านลาภ สนฺตวณฺโณ วัดเขากอบ จ.ตรัง
 พ่อท่านบุญให้ วัดท่าม่วง จ.นครศรีธรรมราช
 หลวงปู่แวนกาย กัมพูชา
 หลวงปู่ศวัส (พ่อปู่ฤษี) วัดเกษตรสุข พะเยา
 พระอาจารย์ภัตร อริโย วัดนาทวี จ.สงขลา
 พระอาจารย์เล็ก กนฺตสีโล วัดถ้ำเขาน้อย
 ครูบาทันใจ วัดป่างิ้ว จ.เชียงใหม่
 หลวงปู่พรหมา วัดสวนหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อสาย วัดตะเคียนราม จ.ศรีษะเกษ
 หลวงปู่ผอง วัดป่าโนนลำดวน อุบลราชธานี
 พระพรหมธาดามหาเศรษฐี วัดระฆังโฆสิตาราม
 หลวงพ่อนพดล วัดป่าคำชลพัฒนาราม จ.อุดรธานี
 หลวงปู่ชาติมนต์ดำ ที่ปฏิบัติธรรมโคกสูง จ.ร้อยเอ็ด
 หลวงพ่อตุ๋ย วัดบ้านเขียดเหลือง จ.ร้อยเอ็ด
 ฤาษีธรรมราช อาศรมรัตนเศรษฐี จ.ร้อยเอ็ด
 หลวงพ่อยศ วัดบ้านสังข์ จ.ร้อยเอ็ด
 หลวงปู่เร็ว ฉันทโก วัดหนองโน จ.อุบลราชธานี
 รุ่น มหาสมบัติบารมีปู่สรวง
 อ.ดำ บางกอกน้อย
สำนักปู่เทพประสิทธิ์เทพประทานพร
 ญาท่านเภา วัดบ้านเวิน จ.หนองคาย




จดหมายข่าว
กรุณาใส่อีเมล์ของท่าน เพื่อรับข่าวสารที่น่าสนใจ


เช็คสถานะการสั่งซื้อ


Pay online by TaradPay

ฝากติดตามเวปสำรองของทางร้าน  www.barameepokae.com

Alternative website : www.barameepokae.com

 << สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

รายละเอียดสินค้า/บริการ
สินค้า/บริการ >> พ่องั่ง แม่งั่ง / Ngang, Pho-Ngang, Mae-Ngang >> พระชัยอยุธยา (พระงั่งอยุธยา)

พระชัยอยุธยา (พระงั่งอยุธยา) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่
พระชัยอยุธยา (พระงั่งอยุธยา)






  Tell a Friend

พระชัยอยุธยา (พระงั่งอยุธยา)

รหัสสินค้า: 005048
ราคา: 6,500.00 บาท
รายละเอียด:

พระชัยอยุธยา (พระงั่งอยุธยา)

วัตถุโบราณ กึ่งพระเครื่อง กึ่งพระบูชา กึ่งเครื่องราง ถูกบูชาได้หลายทาง ถูกพกพามาหลายแบบ ถูกเรียกขานได้หลายนาม ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างสากลในชื่อ "พระชัยอยุธยา" สันนิษฐานว่าถูกสร้างในช่วงที่อยุธยาเกิดศึกสงคราม จึงมีศิลป์แบบเรียบง่ายแต่ดุดันดั่งนักรบโบราณ เชื่อถือกันมาแต่โบราณว่าเครื่องรางของขลังชนิดนี้ แม้เหลือแต่หัวก็พกพาบูชาได้ โดยที่ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ยังคงเดิมไม่เสื่อมคลาย เด่นทางด้านคุ้มครองป้องกัน ชนะเหนือศัตรู ใช้ทางเมตตาก็ได้ผลดี

เทพบุตรแห่งอโยธยา อมตะของดีคู่กรุงศรีอยุธยา เทวรูปสำริดโบราณผู้งามสง่า ผิวคือเหล็กมีฤทธิ์ โลหะบางประดุจเปลือกไข่ เนื้อในคือรูปปั้นดินอาถรรพ์ เลอค่ามากมนต์ขลังสมเป็นเครื่องรางในตำนาน อายุเก่าแก่ไม่ต่ำกว่า 300 ปี ในยุคอันก่อนเกิดคำว่า พระชัย สิ่งนี้คืออะไรยังคงน่าพิศวง หลายคนเชื่อว่างั่งก็คืองั่ง หลายคนเชื่อว่าพระชัยก็คือพระชัย แต่ก็ยังมีอีกหลายคนเชื่อว่า ทั้งงั่งและพระชัยก็คือสิ่งเดียวกัน ส่วนจริงแท้นั้นจะเป็นอะไรก็คงอยู่ที่ความเชื่อความศรัทธาและวิจารณญาณของแต่ละบุคคล

สมัยก่อนนักเลงหัวไม้ชอบพกเครื่องรางโบราณชนิดนี้ไว้กับตัว เพราะนอกจากจะเป็นคงกระพันชาตรี ช่วยป้องกันภยันอันตรายจากคมมีดของศัตรูและศาสตราวุธาทุกชนิดแล้ว ยังร่ำลือกันอีกว่าเศียรแหลมๆของสิ่งนี้นั้น สามารถใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กับพวกหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้าอีกด้วย

มีเรื่องเล่าขานกันมากในแดนใต้ ว่าแม้แต่ชาวต่างชาติ ก็เฟ้นหาสิ่งนี้กันให้ควัก อาทิเช่น สิงค์โปร์ มาเลย์ อินโด พวกเขาอาจไม่ได้ต้องการรู้ ว่านี่คืออะไรอาจไม่ต้องศึกษาประวัติที่มาว่ามาจากไหน เพราะด้วยต่างภาษากัน การจะเล่นหาอะไรของเขาจึงมักวัดกันที่ความขลังเท่านั้น เขาจึงต้องการวัตถุเข้มขลัง ที่มั่นว่าคุ้มตัวได้ รูปหล่อโบราณสำริดบาง เท่าเปลือกไข่นี้จึงโด่งดังไปไกล ตั้งแต่ไทยถึงต่างแดนเพราะมีเรื่องโจษจันกันเป็นตำนานอมตะ ว่าใครมีไว้ มืดปืนไม่ได้กินเลือด

ส่วนในเรื่องเมตตามหาเสน่ห์นั้นก็เรียกว่าไม่เป็นสองรองใคร จากประสบการณ์ของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าให้ลูกหลานฟังต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ในเอวของเสือผู้หญิงชายเจ้าชู้สมัยโบราณจึงมักมีเครื่องรางโบาราณชนิดนี้ถักลวดคาดไว้ที่เอวเสมอ ในสมัยนั้นแทบไม่มีใครนำไปห้อยคอเลย เพราะคนยุคนั้นเชื่อว่าวัตถุโบราณชนิดนี้ไม่ใช่รูปเคารพของพระพุทธเจ้า แต่เป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปลักษณ์ของบุคคลเพศชาย อาจเนื่องด้วยเหตุนี้ วัตถุโบราณชนิดนี้จึงถูกเรียกด้วยหลายนามตามประสบการณ์ของผู้ใช้จริง อาทิเช่น พระชัยนะจังงัง, พระงั่งอยุธยา, อ้ายงั่ง ด้วยความเชื่อที่ถูกส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นนี้ ภายหลังมาโบราณจารย์จอมขมังเวทย์จึงได้นำรูปแบบศิลปะของพระชัยอยุธยามาผนวกกับมนต์คาถาวิชาขลัง สร้างออกมาเป็น "พระงั่ง" ในรูปแบบต่างๆ ศิลปะในเชิงประติมากรรมระหว่าง "พระชัยอยุธยา" และ "พระงั่ง" จึงมีความคล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าบังเอิญ

ความมหัศจรรย์ของวัตถุโบราณชนิดนี้ ไม่ได้มาจากเรื่องอิทธิคุณความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ครอบจักรวาลเพียงอย่างเดียว แต่ในเชิงของงานประติมากรรมโลหะก็ถือสุดยอด ด้วยเทคนิคการหล่อสำริดได้บางเฉียบเทียบเท่า "เปลือกไข่" สังเกตได้จากเนื้อโลหะกับดินใต้ฐานแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งแม้แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันก็ยังไม่อาจทำได้ใกล้เคียง ถือเป็นสุดยอดภูมิปัญญาของคนโบราณที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่

ว่ากันว่าความลับของการหล่อสำริดบางเท่าเปลือกไข่นี้ นอกจากช่างหล่อต้องหลอมโลหะที่มีทองแดงและดีบุกเป็นองค์ประกอบหลักให้ละลายเข้ากันด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่าพันองศาแล้ว ช่างหล่อยังได้ใส่แร่โลหะพิเศษบางตัวเพิ่มลงไป เพื่อลดความหนืดของน้ำโลหะทำให้ไหลได้คล่องตัวเวลาเททองลงเบ้าแม่พิมพ์ ซึ่งเบ้าแม่พิมพ์ก็มาจากเทคนิคการเข้าขี้ผึ้งกับหุ่นดินด้วยกรรมวิธีพิเศษ เพื่อประหยัดเนื้อโลหะในยุคที่การถลุงแร่ยังทำได้ไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ โดยช่างหล่อจะเว้นการเข้าขึ้ผึ้งบริเวณช่วงฐานที่เป็นสามเหลี่ยมไว้อย่างมีนัยยะเฉพาะอีกด้วย

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของพระชัยอยุธยาก็คือ ทุกองค์จะมีหน้าตาไม่เหมือนกัน แต่ละองค์จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะเป็นการสร้างพระแบบโบราณ โดยการขึ้นหุ่นปั้นแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่องค์ต่อองค์ ไม่มีรอยตะเข็บข้าง ต่างกับการสร้างพระเครื่องพระบูชาหลังรัชกาลที่4เป็นต้นมา ที่มีการใช้บล็อคแม่พิมพ์แบบประกบหน้าหลังเป็นส่วนมาก

นอกจากนี้ดินหุ่นของพระชัยก็มีลักษณะเฉพาะตัวเหมือนกัน เป็นดินเนื้อละเอียดแข็ง จับตัวกันแน่น ลูบจับเนียนมือ โดยมากจะมีสีดำสนิท มีความแข็ง มีความแกร่ง ไม่ร่วนหรือแยกตัวเป็นเม็ด ผ่านการเผาด้วยกรรมวิธีพิเศษ ผ่านความร้อนสูงจากขั้นตอนการเผาสำรอกขี้ผึ้ง จะค่อนข้างต่างกับดินที่ใช้ในการขึ้นหุ่นหล่อพระช่วงรัตนโกสินทร์ตอนปลายเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงมีบางตำนานเล่าขานสืบต่อมาว่า ดินหุ่นของพระชัยอยุธยา ไม่ได้ทำมาจากดินทั่วไป แต่เป็นดินที่ผสมมวลสารอาถรรพ์และแร่มงคลไว้มากมาย ซึ่งภายหลังมามีการค้นพบว่าพระชัยบางองค์มีการฝังเม็ดแร่ที่หลายคนเชื่อว่าเป็น "เหล็กไหล" ไว้ภายในอีกด้วย โดยรวมจึงถือว่าพระชัยอยุธยาเป็นของดีที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และบูชาอย่างยิ่ง

ขนาด: สูง 4 นิ้ว

Phra Chai Ayutthaya (Phra Ngang Ayutthaya)

The ancient antique, which is a half-amulet, half-avatar statue that has been worshiped by the believers in many ways, has been carried by the owner in many styles, and has been called by many names. Nowadays, it is known internationally as "Phra Chai Ayutthaya". Assumed that this amulet was built during the Ayutthaya War. Therefore, it has a simple and classic design but, look strong and mighty like an ancient Thai warrior. Since ancient times, people believe that this kind of amulet even if just only the head, it still has the intensity of the divine power remained as full body. The owner can pray for protection against danger weapons, victory and mercy.

The god of Ayodhya, the immortal amulet of Ayutthaya, the graceful ancient bronze statue. Its skin surface is sacred iron that is very flat and thin metal like an eggshell. The inside of the body is the mystical solid soil statue. This ancient amulet is precious and magical as a legendary amulet which has old age, not less than 300 years old. In the era before the word "Phra Chai" was called, what this amulet is still a mystery. Many people believe that Phra Ngang is Phra Ngang. Many people believe that Phra Chai is Phra Chai. But, there are still many people who believe that both Ngang and Phra Chai are the same thing. As for what it really is, it depends on the beliefs, faith and consideration of each individual.

In the past, fighters and gangsters liked to carry this kind of ancient amulet with them because this amulet would help them to be invulnerable and prevent dangers from the enemy's attack and all kinds of deadly weapons. It is also rumored that the sharp head of this amulet could be used as a weapon in the fight against the invulnerable body skin.

There are many stories in the southern part of Thailand that even foreigners from Singapore, Malaysia, Indonesia also seek this amulet. They may not want to know what this is, they may not have to search where this amulet came from due to different languages. So, when they want some powerful amulets, they will mainly focus on the magic power of an amulet that they are confident to worship. Therefore, this antique bronze statue is famous far and wide from Thailand to foreign countries because there are many stories and experiences from users that those who have it, gun and knife can not eat their blood.

As for charming power, it is said to be second to none. From the experience of old people that have been told to their children from generation to generation. In the waist of playboys in ancient times, there was always this amulet tied around their waists. In those days, people hardly saw anyone hanging this amulet around their necks because people at that time believed that this kind of ancient statue was not an image of the Buddha but, it was a kind of amulet that is in the appearance of a male warrior. Probably for this reason, this type of ancient amulet is called by many names according to the experience of real users, such as Phra Chai Na Chang Ngang, Phra Ngang Ayutthaya, and Ai Ngang. Due to the above-mentioned beliefs that have been passed down from generation to generation, the magicians and magic masters brought the artistic design form of Phra Chai Ayutthaya to combine with the magic spells and made it out to be "Phra Ngang" in various models. Therefore, the characteristics between "Phra Chai Ayutthaya" and "Phra Ngang" are significantly similar.

The amazing things of this ancient amulet don't come from its universal function only, but, in terms of metal sculpture, it's the best. With the bronze casting technique that makes its metal skin surface as thin as an "Eggshell", which can be seen from the metal skin and the soil under the base almost being the same piece that even today's technology is still unable to do close to it. This bronze casting technique is considered the ultimate wisdom of the ancient people and that is still a mystery.

It is said that the secret of the bronze casting technique that makes this amulet have metal skin as thin as an egg shell is not only that the maker had to melt metals that are copper and tin as the main components to melt together at a temperature of not less than a thousand degrees but, the maker also added some special metal ore to reduce the viscosity of the metal so that the liquid metal could flow smoothly when pouring into the mold. Interestingly, the mold came from the technique of joining wax and clay figures with a special process to save metal in an era where smelting metal is not as easy as today. Moreover, the maker also made empty space for the triangle base with a specific meaning as well.

Another special identity of Phra Chai Ayutthaya is that every piece will have a different face. Therefore, each one has its own unique identity. Because it is the creation of an ancient amulet by making up a new clay mold for each piece, which is different from the creation of metallic amulets after the reign of King Rama IV until nowadays, where most of the molds are face-to-face type.

In addition, the clay body of Phra Chai also has its own unique characteristics. It is fine-grained hard soil. Most of them are completely black, hard, strong, not crumbling or separating into gravel. Passed through a special firing clay process with high heat which is quite different from the firing clay process that was used in the late Rattanakosin period onwards. For this reason, there are some legends that continue to be told that the clay body of Phra Chai Ayutthaya is not made from common soil but, it is a special soil that is mixed with many mystical substances and auspicious minerals. Later, it was discovered that some Phra Chai had embedded mineral substances that many believed to be "Leklai" inside as well. Overall, it is considered that Phra Chai Ayutthaya is a precious amulet that is worth conserving and worshiping.

Height: 4 inches.

น้ำหนัก : 200 กรัม
ขนาด [กว้าง x ยาว x สูง] : 5 x 4 x 10 ซม.

ระยะเวลาการขาย : จนกว่าของจะหมด




แจ้งรหัสสินค้า : 7680351
เวลาทำการ จ-ศ 9.00-18.00

สินค้า/บริการ แนะนํา...
พ่องั่งรุ่น 5 โปร่งฟ้าพญาลือ (องค์เงินตาทองคำ) พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา พุทธสถานวิหารธรรมราช จ.เพชรบู
ราคา 30,000.00 บ.
พ่องั่งรุ่น 5 โปร่งฟ้าพญาลือ (องค์เงินตานาก) พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา พุทธสถานวิหารธรรมราช จ.เพชรบู
ราคา 15,000.00 บ.
พ่องั่งรุ่น 5 โปร่งฟ้าพญาลือ (ทองผสม) พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา พุทธสถานวิหารธรรมราช
ราคา 2,500.00 บ.
พ่องั่งรุ่น 5 โปร่งฟ้าพญาลือ (สัมฤทธิ์ฐานเรียบ) พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา พุทธสถานวิหารธรรมราช
ราคา 1,000.00 บ.
คุณพ่อศรีสะรังงัง (พ่องั่ง รุ่น1.1), พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา, พุทธสถานวิหารพระธรรมราช, จ.เพชรบูรณ์
ราคา 300.00 บ.
คุณพ่อศรีสะรังงัง (พ่องั่ง รุ่น1.1), พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา, พุทธสถานวิหารพระธรรมราช, จ.เพชรบูรณ์
ราคา 1,000.00 บ.
คุณพ่อศรีสะรังงัง (พ่องั่ง รุ่น1.1), พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา, พุทธสถานวิหารพระธรรมราช, จ.เพชรบูรณ์
หมดแล้วค่ะ Sold out
ไองั่ง พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา, พุทธสถานวิหารพระธรรมราช จ.เพชรบูรณ์
หมดแล้วค่ะ Sold out
อีงั่ง พระอาจารย์โอ พุทโธรักษา, พุทธสถานวิหารพระธรรมราช จ.เพชรบูรณ์
ราคา 1,000.00 บ.
งั่งเซ็กซ์หมู่ (ชนวนเก่าล้วน) อาจารย์เจียม ฤทธิ์คง
หมดแล้ว Sold out.
งั่งเซ็กซ์หมู่ (ทองผสม) อาจารย์เจียม ฤทธิ์คง
หมดแล้ว Sold out.
พญางั่ง ยันตะเบ็ด อาจารย์เจียม ฤทธิ์คง
หมดแล้ว Sold out.
 

บริการของร้านค้า
หน้าแรก
สินค้า
เว็บบอร์ด
เกี่ยวกับเรา
บทความ
วิธีการชําระเงิน
ติดต่อเรา


© 2001-2010. TARAD.com. All Rights Reserved.